หากมีการสำรวจอายุพนักงานภายในองค์กร เราจะเห็นได้ว่าองค์กรส่วนใหญ่ในปี 2024 นี้ขับเคลื่อนด้วยคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Y, Gen Z กันเสียส่วนใหญ่ ซึ่งไลฟ์สไตล์ วิถีการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เราต้องยอมรับว่าเขาเห็นสิทธิ และเสรีภาพ รวมถึงความเท่าเทียมเป็นสิ่งสำคัญ และจะเป็นกลุ่มคนทำงานที่มองหาองค์กรที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต และความสามารถของตัวเองมากที่สุด
แล้ว HR อย่างเราจะทำอย่างไรเพื่อดึงศักยภาพในตัวพนักงานรุ่นใหม่ให้ออกมาได้มากที่สุด??
แองจี้ได้เตรียมคำตอบมาให้ทุกท่าน 9 ข้อ 9 เทคนิคแบบจัดเต็มด้านล่างนี้ค่ะ
เริ่มต้นด้วยสภาพแวดล้อมที่ความปลอดภัยทางจิตใจ
อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ การให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจให้แก่พนักงานทุกคนนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะจะทำให้ทุกคนรู้สึกสบายใจและมั่นใจที่จะแสดงความคิดเห็น มีความเป็นส่วนหนึ่ง ไม่กลัวที่จะถาม และไม่กลัวที่จะผิดพลาด โดยที่ไม่ต้องกลัวการถูกตำหนิหรือการโทษนั่นเอง
ให้ความสำคัญกับสุขภาพของพนักงาน
การดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจของพนักงานควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขององค์กร และเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมภายในองค์กรค่ะ คิดเสมอว่า “กายพร้อม… ใจพร้อม… พนักงานของเราก็พร้อมลุยค่ะ”
ถึงเวลาปรับตัวใช้ระบบ Hybrid
คนรุ่นใหม่นั้นให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตส่วนตัว และการใช้เวลากับครอบครัว พวกเขาจึงต้องระบบการทำงานแบบ WFA อย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการหยุดพักจากการทำงานที่เคร่งเครียดในออฟฟิศ และจัดระบบชีวิตตัวเอง
ให้โอกาสพนักงานได้สร้าง Connection
ด้านสังคมของการทำงานมีความสำคัญ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่คนรุ่นใหม่จะมองหาประสบการณ์ และ Connection จากการทำงาน หากองค์กรของเราสามารถสนับสนุนในจุดนี้ได้ พนักงานต้องทุ่มทีที่จะสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมาอย่างแน่นอนค่ะ
มอบหมายงานให้เหมาะสม และไม่บริหารงานอย่างจู้จี้จุกจิก
พนักงานทุกคนควรรู้สึกว่าตัวเองมีค่า และได้รับการเคารพในการตัดสินใจ หรือดำเนินงานต่างๆ หลีกเลี่ยงการทำงานด้วยระบบจู้จี้จุกจิก ที่หัวหน้างานต้องคอยตรวจสอบทุกขั้นตอนจนแทบจับมือทำ เพราะนั่นอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเราลดลงได้ค่ะ
รู้จักถามคำถาม ไม่ตัดสินพนักงานเร็วเกินไป
จำไว้ว่าคนรุ่นใหม่มีประสบการณ์ในสถานที่ทำงานอย่างจำกัด และองค์กรแต่ละแห่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน อย่าด่วนตัดสินใจว่าพวกเขาจะทราบหรือไม่ทราบเกี่ยวกับวิธีทำงานขององค์กรเรา
ให้ความสำคัญกับระบบการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กร
คนรุ่นใหม่ยังอยู่ในช่วงต้นของอาชีพของพวกเขา ดังนั้นการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญของงาน การเรียนรู้นี้ต้องเป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน การเรียนรู้จากผู้อื่น และการเรียนรู้ในรูปแบบทางการมากขึ้น
สร้างระบบเห็นอกเห็นใจในองค์กรให้เป็นพื้นฐาน
บางคนอาจมีความคิดสร้างสรรค์หรือมีประสิทธิภาพต่างกันในเวลาต่างๆของวัน หรือในวันต่างๆของสัปดาห์ ดังนั้นมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะรองรับรูปแบบและจังหวะการทำงานที่แตกต่างกันได้
มิตรภาพในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
เมื่อคนรุ่นใหม่ได้รับการเข้าร่วมทีม การมีเพื่อนเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้พนักงานมีโอกาสถามคำถาม และได้รับการสนับสนุนนอกเหนือจากเรื่องงานเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังทำให้รู้สึกว่าการมาทำงานนั้นไม่ใช่เพียงการตื่นเช้าเพื่อทำงานเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนด้วยเช่นกัน
จริงๆ แล้ว 9 เทคนิคนี้อาจไม่ใช่เพียงแค่คนรุ่นใหม่ที่ต้องการ แต่พนักงานเก่าของเราเองก็อาจอยากได้องค์กรที่ใช้รูปแบบนี้เช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่างๆ ทำให้ไม่ว่าจะวัยไหน Gen ใด ต่างให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตใจ ชีวิตส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
องค์กรที่ดีคือองค์กรที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลง และคว้าสิ่งเหล่านั้นมาเป็นจุดขายขององค์กรค่ะ