Shopping Cart

No products in the cart.

ระวัง! 3 หลุมพรางระบบ KPI ที่เหล่า HR อาจมองข้าม

แบ่งปันเพื่อนๆ หรือ แชร์เก็บไว้ดูเอง

ในช่วงต้นปีเช่นนี้หลายๆองค์กรคงได้เริ่มมีการกำหนด KPI หรือ Key Performance Indicator กันไปบ้างแล้ว วันนี้แองจี้จึงอยากมาแชร์ถึงข้อควรระวังในการนำระบบ KPI มาใช้ เพื่อให้เราสามารถนำระบบการวัดประเมิน KPI มาใช้ร่วมกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

ซึ่งแองจี้ขอแบ่งเป็น 3 ประเด็น โดยเราจะเรียกกันว่า 3 หลุมพรางระบบ KPI ค่ะ

หลุมพรางที่ 1 เลือกใช้ตัววัดผลไม่เหมาะสมกับ End Result ที่ต้องการ

ถ้าพูดถึงตัวชี้วัดในการวัดผล KPI ที่เหล่า HR ต่างคุ้นเคยคงหนีไม่พ้น…

– จำนวนชั่วโมงในงานฝึกอบรมต่อคน/ปี

– จำนวนพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม

– ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่อคน/ปี

ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีและใช้ได้จริงค่ะ แต่หากถามว่าช่วยในเรื่องการวัดผล End Result ได้ดีที่สุดไหม? ต้องบอกเลยว่า ไม่ค่ะ ถ้าอยากวัดผล End Result ให้ได้ผลจริงๆ แองจี้ขอแนะนำคู่หู Pre-Test และ Post-Test ให้เป็นเพื่อนคู่ใจการวัดผล KPI แก่ทุกท่านค่ะ เพราะคู่หูสองตัวนี้จะช่วยให้เราสามารถวัดผลได้ค่อนข้างชัดเจนว่า การฝึกอบรมนั้นได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร แต่หากเป็นในด้านทักษะการทำงาน เราอาจจะใช้คู่หู การประเมินก่อน-หลังฝึกอบรม หรือหากเกี่ยวกับยอดขายหรือยอดผลิต อาจะใช้เป็นคู่หู ข้อมูลประสิทธิภาพก่อน-หลังฝึกอบรมก็ได้เช่นกันค่ะ

หลุมพรางที่ 2 ระบบเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบ KPI ที่เรานำมาใช้นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ คือ ระบบเก็บข้อมูลที่ดี และเป็นระบบ เพื่อให้ไม่เกิดการเสียเวลาในการเก็บข้อมูลแบบ Manual ดังนั้นการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลอยู่เสมอคือสิ่งที่เหล่า HR ห้ามมองข้าม เพราะหากระบบมีปัญหาก็จะส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน เมื่อภาระมากขึ้น หรือขาดความน่าเชื่อถือ พวกเขาก็จะไม่ buy-in ในระบบนี้

หลุมพรางที่ 3 หลงลืมวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของระบบ KPI

HR บางท่านนำระบบ KPI มาใช้เพียงเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ทุกองค์กรต่างใช้งาน และเมื่อนำมาใช้จริงกลับลืมไปว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของ KPI นั้นมีเพื่ออะไร ทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้นเรามาทบทวนกันเสียหน่อยค่ะว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของ KPI มีอะไรบ้าง

– พัฒนา : การทำผลงานให้ดีขึ้นจากปี/ไตรมาสที่ผ่านมา

– รักษา : รักษามาตราฐานในการทำงานให้ไม่แย่ลง

– สนับสนุน : พัฒนาแต่ละหน่วยงาน หรือพนักงานแต่ละคนในด้านกลยุทธ์ และภารกิจขององค์กร

– แก้ไขปัญหา : ทุกองค์กรมีปัญหาเข้ามาอยู่เสมอ KPI จึงเป็นส่วนหนึ่งในการวางกลยุทธ์แก้ไขปัญหา

เราจะเห็นได้เลยว่าระบบ KPI นั้นมีข้อดีมากมาย แต่ข้อควรระวังก็มีเช่นกัน เพราะเมื่อนำมาใช้แล้วไม่เกิดผล หรือได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร ย่อมไม่เป็นที่ประทับใจต่อผู้บริหาร และต่อตัว HR เอง ฉะนั้น HR ตัวจริงต้องเข้าใจ และทราบข้อควรระวังต่างๆ ของ KPI เป็นอย่างดี และเมื่อเราเข้าใจการทำงานของเครื่องมือนี้ KPI ก็จะเป็นเครื่องมือคู่ใจตัวฉมังในการวัดผลประจำปีของเราค่ะ

แบ่งปันเพื่อนๆ หรือ แชร์เก็บไว้ดูเอง

Leave a Reply